เกี่ยวกับเรา

บอง มาร์เช่ มาร์เก็ตพาร์ค

บอง มาร์เช่ มาร์เก็ต พาร์ค มุ่งมั่นเป็นสถานที่บริการการค้า ที่นำเสนอสินค้าคุณภาพดี มีมาตรฐาน การให้บริการที่เหนือความคาดหมาย และยิ่งไปกว่านั้นเป็นสถานที่ที่นำเสนอประสบการณ์ที่สร้างสรรค์แก่สังคม

บันทึกเหตุการณ์สำคัญ

2540
  • เกิดเหตุการณ์ฟองสบู่แตก เศรษฐกิจประเทศตกต่ำ มีคนตกงานจำนวนมาก
  • โครงการ บอง มาร์เช่ จึงเกิดขึ้น ด้วยความตั้งใจที่จะสร้างโครงการให้เป็นประโยชน์กับสังคม คนตกงานและผู้ด้อยโอกาส ผู้ริเริ่มโครงการจึงคิดที่จะทำ “ตลาด” เพราะเห็นว่าเป็นสัญลักษณ์หนึ่งของสังคมไทย ไม่ว่าจะยากดีมีจนอย่างไรก็ต้องกินต้องใช้ ครั้งนั้นเน้นให้มีผู้เช่า 3 กลุ่ม ได้แก่ ผู้ด้อยโอกาส 30% คนตกงาน 30% คนที่ถูกให้ออกจากงานก่อนเกษียณอายุ 30% และผู้มีฐานะอยากจนอีก 10% 
  • เริ่มวางโครงการ ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2540
2541
  • เริ่มก่อสร้างกลางปี  พ.ศ. 2541 โดยใช้โครงสร้างสนามไดร์ฟ กอล์ฟเป็นฐาน
  • วางแนวทางการก่อสร้างไว้อย่างชัดเจนคือ ทางเข้าออกมีถนนกว้าง 8 เมตร ร่นจากแนวรั้วเพื่อให้มีช่องว่างระหว่างตลาดกับหมู่บ้านจัดสรรที่อยู่รายรอบตลาด เพื่อไม่ให้เพื่อนบ้านได้รับความเดือดร้อน และยังลงเสาเข็มสำหรับกันถนนทรุดตลอดรอบโครงการอีกด้วย ส่วนหลังของที่ดินได้สร้างหอพักสำหรับพนักงาน
2542-2556

เปิดดำเนินการครั้งแรก ในวันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2542 โดยมีเพียงโซนตลาดสด
ดำเนินการก่อสร้างโครงสร้างพลาซ่าเพิ่มเติม เพื่อให้โอกาสแก่ผู้ประกอบการกลุ่มเสื้อผ้า แฟชั่น และเครื่องประดับ และได้พัฒนาเรื่อยมาจนถึงปัจจุบันมี

  • ตลาดสด
  • ตลาดของชำ
  • ตลาดผักผลไม้
  • ศูนย์อาหาร

จากนั้นก็ได้พัฒนาพลาซ่า

  • อาคาร A เป็นศูนย์จิเวลรี่และเครื่องประดับ
  • อาคาร B เป็นพลาซ่าขายเสื้อผ้า
  • อาคาร C ชั้นล่างของอาคารจอดรถเป็นพลาซ่าเช่นเดียวกับอาคาร B
  • อาคาร D เป็นส่วนโหราศาสตร์พยากรณ์
  • อาคาร E เป็นภัตตาคาร
  • อาคาร F ขายของทั่วไป
2563
  • ปรับปรุงศูนย์อาหาร 
  • เริ่มวางโครงการพัฒนาโซน Quick Service Restaurant บริเวณลานจอดรถด้านข้างศูนย์อาหาร

ส่งท้าย

            สิ่งที่เราคิดว่าเป็นปัจจัยที่จะทำให้โครงการต่างๆ ประสบความสำเร็จได้คือ “ความใส่ใจ” ในทุกขั้นตอน ตั้งแต่การสั่งการจนถึงการติดตามงานว่าที่สั่งการไปนั้นเขาทำอย่างไรและทำได้ตามนั้นหรือไม่

            ดังที่ได้กล่าวแล้วว่าโครงการรัจนาการ 4 เมื่อเราได้เงินมาไม่อั้นและใช้ของมีคุณภาพสูงทุกอย่าง มองประดุจใช้เงินสุรุ่ยสุร่าย แต่ผลสรุปเรื่องค่าใช้จ่ายในการก่อสร้าง เราก็ยังใช้เงินค่าก่อสร้างอยู่ในเกณฑ์ที่ถูกกว่าทั่วไปถึงครึ่งต่อครึ่ง นี่เป็นผลมาจากการที่เรา “ใส่ใจในรายละเอียด” ทุกอย่าง ติดตามดูทุกขั้นตอน ตั้งแต่การตอกเสาเข็ม ผูกเหล็กโครงสร้าง เทปูน ปูพื้น วางระบบไฟฟ้า ประปา ฯลฯ เราลงไปอยู่ในไซต์งานกับคนงาน ช่วยเขาคิดและแก้ปัญหาอย่างใกล้ชิด

            ครั้งหนึ่ง ระหว่างที่การก่อสร้างรัจนาการ 4 กำลังอยู่ในขั้นตอนการผูกโครงเหล็ก แม้เราจะไม่มีความรู้ในเรื่องนี้เลย แต่เมื่อดูในรายละเอียดและสังเกตว่า เหล็กที่ผูกไว้สองฝั่งไม่เท่ากัน จึงสอบถามกับวิศวกร ก็พบว่าคนงานผูกเหล็กไม่เท่ากันจริงๆ จึงได้แก้ไขให้ถูกต้องทันท่วงที

            อีกตัวอย่างหนึ่งคือ ช่วงของการเทปูนในแต่ละชั้น จำเป็นต้องเทพื้นทั้งผืน 1,700 ตารางเมตรให้เสร็จคราวเดียวภายใน 1 คืน ใช้รถขนปูนถึง 300 คัน เนื่องจากรถขนปูนได้รับอนุญาตให้วิ่งได้แค่ช่วง 21.00 น. ถึง 6.00 น. เท่านั้น จึงต้องทำงานกันในช่วงกลางคืน เราได้เตรียมอาหารการกินภาคดึกอีก 1 มื้อ